Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

กทปส. มุ่งขับเคลื่อนความเข้มแข็งอุตสาหกรรมโทรคมนาคมฯ เปิดให้ทุนโครงการประเภท 2 ครั้งที่ 3

กทปส. เปิดรับการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยการเปิดรับข้อเสนอโครงการ ประเภทที่ 2 ประจำปี 2561 ครั้งที่ 3 จำนวน 2 โครงการ ด้วยวงเงินรวม 55,000,000 บาท 

เดินหน้าสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยและการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมใหม่ เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมฯ หวังสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศ

นายนิพนธ์ จงวิชิต รักษาการผู้จัดการ กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. เปิดเผยว่า กทปส เดินหน้าขับเคลื่อนโครงการเปิดสนับสนุนมอบทุนประเภทที่ 2 ประจำปี 2561 ครั้งที่ 3 เพิ่มอีก 2 โครงการ วงเงินรวม 55,000,000บาท ซึ่งทุนประเภทที่ 2 นี้ เป็นการมอบทุนตามนโยบายของคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ซึ่งจะประกาศกำหนดขอบเขตของงานแต่ละโครงการ เพื่อให้ผู้ที่คุณสมบัติตามที่กำหนดไว้สามารถยื่นข้อเสนอในการดำเนินการเพื่อขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนจาก กทปส. ได้

 

โครงการประเภทที่ 2 ประจำปี 2561 ทาง กทปส. ได้เปิดให้มีการขอรับการสนับสนุนไว้แล้ว 10 โครงการ และได้เปิดเพิ่มเติมอีก 2 โครงการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 52 (2) ซึ่งระบุไว้ในขอบเขตงาน (TOR) ได้แก่

1. โครงการพัฒนาศูนย์กลางการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล และ

2. โครงการจัดตั้งบริการทดสอบและวิจัยระบบผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีซอฟต์แวร์เป็นส่วนประกอบ

โดยโครงการดังกล่าวมีความสอดคล้องกับแผนแม่บทหรือแผนยุทธศาสตร์ กสทช. ด้านการใช้ทรัพยากรโทรคมนาคมอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการศึกษา การสาธารณสุข วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐและประโยชน์สาธารณะอื่นๆ

สำหรับโครงการพัฒนาศูนย์กลางการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 เพื่อพัฒนาประเทศโดยมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจจากระบบเดิม ไปสู่" Value–Based Economy" หรือ "เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม" นับเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนประการหนึ่งคือ การนำความฉลาดของเทคโนโลยีมาทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถทำางานได้แบบอัตโนมัติภายใต้คำสั่งการของผู้ใช้งาน โดยมีความร่วมมือในการขับเคลื่อนและพัฒนาทั้งภาคเอกชน ภาคการเงิน การธนาคาร มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่าง ๆ ที่นำความถนัดและจุดเด่นของแต่ละองค์กร และมีภาครัฐเป็นกำลังในการสนับสนุน

นอกจากนี้โครงการดังกล่าวยังสอดคล้องกับแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนากำลังคนทั้งบุคลากรภาครัฐและภาคเอกชนให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างชาญฉลาดในการประกอบอาชีพและการพัฒนาบุคลากรในสาขาเทคโนโลยีดิจิทัลโดยตรงให้มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในระดับมาตรฐานสากลและให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล

โครงการพัฒนาศูนย์กลางการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1.จัดทำระบบศูนย์กลางการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีคลาวด์เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมเนื้อหาด้านการเรียนรู้ทั้งตามหลักสูตรการศึกษาและความรู้ทั่วไป โดยสร้างโอกาสในการเข้าถึงองค์ความรู้ในระบบได้หลากหลายช่องทางมีความสะดวกง่ายต่อการใช้งานและมีประสิทธิภาพ 2.เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การสร้างเนื้อหาเพื่อการเรียนรู้ การนำนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้ เช่น Internet of Thing (IoT) , Virtual Reality (VR) , Machine to Machine communication (M2M) เป็นต้น 3.เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาในสถาบันต่าง ๆ ในการแลกเปลี่ยนและพัฒนา องค์ความรู้ระหว่างกัน

การพัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล สามารถเริ่มต้นจากภาคการศึกษาเพื่อเป็นการวางรากฐานและการเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชน โดยเฉพาะนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่จะก้าวเข้าสู่วัยงานให้เป็นบุคคลากรที่มีประสิทธิภาพและพร้อมสำหรับการพัฒนาประเทศต่อไป ดังนั้นจึงได้กำหนดให้มี "โครงการพัฒนาศูนย์กลางการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล" เพื่อสนับสนุนการดำเนินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพเยาวชนไทย เพื่อการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมแห่งความรู้ ภูมิปัญญา นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ อีกทั้งยังเป็นมิติใหม่แห่งการเรียนรู้โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีส่วนช่วยในการจัดการเรียนรู้ สื่อการสอน และการแบ่งปันข้อมูล การดำเนินงานและกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัย

สำหรับอีกหนึ่งโครงการที่เปิดมอบทุน คือ โครงการจัดตั้งบริการทดสอบและวิจัยระบบผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีซอฟต์แวร์เป็นส่วนประกอบ ซึ่งสอดคล้องกับเทรนด์ของเทคโนโลยีในยุคที่เรียกว่าอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง หรือ Internet of Things : IoT ที่เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตของประชากรทั่วโลก โดยปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งาน IoT จำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากข้อมูลของบริษัท IBM ระบุว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีอุปกรณ์ IoT 1.3 แสนล้านชิ้น และคาดว่าในปี พ.ศ.2562 IoT จะสร้างมูลค่าทาง เศรษฐกิจโลกได้มากถึง 1.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และทางด้านบริษัท Frost & Sullivan คาดการณ์ในประเทศไทยไว้ว่า IoTจะสามารถสร้างเม็ดเงินทางเศรษฐกิจได้มากถึง 3.4 แสนล้านบาท ในปี พ.ศ. 2563

จากการเริ่มนำ IoT มาปรับใช้ในภาคอุตสาหกรรมทั้งด้านการผลิต การเกษตร การแพทย์ และยานยนต์ เป็นต้น ตัวอย่างระบบ IoT ที่นำมาใช้ในด้านต่างๆ ได้แก่ ระบบที่จอดรถอัจฉริยะ ถังขยะอัจฉริยะ กล้องวงจรปิดอินเทอร์เน็ต เครื่องปรับอากาศอัจฉริยะ เตียงทันตกรรม อัจฉริยะ ทั้งนี้ในอุปกรณ์ IoT นั้นจะประกอบไปด้วยระบบผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมีซอฟต์แวร์เป็นส่วนประกอบในการทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการควบคุมอุปกรณ์ คำนวณค่าพร้อมทั้งแสดงผลลัพท์ อย่างไรก็ตามการนำเทคโนโลยีเข้ามาทำงานยังมีจุดที่ต้องพึงระวังทั้งจากความไม่ปลอดภัยจากผู้ไม่ประสงค์ดี ตัวอย่างข่าวการถูกโจมตีกล้องวงจรปิด(CCTV) ครั้งใหญ่ที่สุดในโลกด้วย Botnet ทำให้เว็บไซต์สำคัญๆ ของในสหรัฐฯ ล่ม ธนาคาร 5 แห่งในประเทศรัสเซียถูก Distributed Denial-of-Service (DDoS) โจมตีอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2 วัน ส่งผลให้ระบบบริการของธนาคารล่ม ปัญหาผู้ใช้งานถูกละเมิดความเป็นส่วนตัว ทั้งในด้านความปลอดภัยของข้อมูล และภัยในส่วน ที่มีผลกระทบกับชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งนำไปสู่ผลกระทบในด้านคุณภาพการดำเนินชีวิต

ทั้งนี้เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาและการป้องกันภัยที่มาจากระบบดังกล่าวแก่ผู้บริโภค สำนักงาน กสทช. โดยสำกงานกองทุนวิจัยและพัฒนา จึงเล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญของบริการทดสอบและวิจัยระบบผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีซอฟต์แวร์เป็นส่วนประกอบ เพื่อให้บริการทดสอบคุณภาพซอฟต์แวร์ที่ฝังอยู่ในผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการวิจัยวิธีการทดสอบคุณภาพซอฟต์แวร์ด้านต่างๆ ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และจะดำเนินการคัดเลือกผู้ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนเงินกองทุน ประเภทที่ 2 เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของ กทปส. อันได้แก่ สร้างความมั่นใจได้ว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือในการใช้งานให้กับระบบ รวมทั้งสร้างความตระหนักและความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ ของประเทศ และยกระดับขีดความสามารถของประเทศให้เทียบเท่าและก้าวทัน ในระดับนานาชาติ ดังกล่าว ข้างต้นต่อไป

ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดโครงการและลงทะเบียนเพื่อขอรับทุนได้ที่ https://btfp.nbtc.go.th ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2561 เวลา 16.30 น. หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานกองทุนวิจัยและพัฒนาฯ 888 อาคารไอทาวเวอร์ 1 ชั้น 6 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ 02 554 8111 และ 02 554 8114 โทรสาร 02 554 8100 ในวันเวลาทำการ

"กทปส. เชื่อมั่นว่าโครงการสนับสนุนทุนประเภทที่ 2 ทั้ง 2 โครงการจะเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม รวมถึงการนำเทคโนโลยีไปสู่การประยุกต์ใช้และต่อยอด เพื่อสร้างเข้มแข็งและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ" นายนิพนธ์ จงวิชิต กล่าวทิ้งท้าย

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Sunday, 21 October 2018 08:39

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion ประเทศไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์งานเหมืองครบวงจร ชูการบริการหลังการขายที่เข้าใจลูกค้ายิ่งกว่าเดิม

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM