Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

IBM เตรียมเปิดใช้ ควอนตัมคอมพิวเตอร์ 20 คิวบิทผ่านคลาวด์ในสิ้นปีนี้

IBM ประกาศเปิดให้บริการระบบ “IBM Q” ควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่ใช้โพรเซสเซอร์ 20 คิวบิทผ่านทางคลาวด์ภายในสิ้นปี และเปิดเผยความสำเร็จของเครื่องทดสอบรุ่น 50 คิวบิท ที่จะถูกใช้เป็น IBM Q ยุคถัดไป

ซึ่งพัฒนาขึ้นด้วยการต่อเติมสถาปัตยกรรมเดิมของเครื่องรุ่น 20 คิวบิท คล้ายกับว่าการเปิดม่านยุคควอนตัมคอมพิวเตอร์กำลังใกล้เข้ามา

ในเครื่องรุ่น 20 คิวบิทนั้น เป็นเครื่องทดสอบที่มี Coherence time (ช่วงเวลาต่อเนื่องที่ 0 และ 1 สามารถทับซ้อนกันได้ในเชิงควอนตัมเพื่อใช้ในการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ความเร็วสูง) สูงถึง 90 ไมโครวินาที (ไมโคร = 1 ในล้าน) สูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา และมากกว่าเครื่องทดสอบรุ่นก่อนๆ ของ IBM ที่มี Coherence time เฉลี่ยที่ 50 ไมโครวินาทีเกือบเท่าตัว ส่วนในรุ่น 50 คิวบิทที่เป็นรุ่นทดสอบ ปัจจุบันยังมีค่าเทียบเท่ากับในรุ่น 20 คิวบิทอยู่

ควอนตัมคอมพิวเตอร์ ถูกกล่าวขานว่าเป็นคอมพิวเตอร์ในฝันที่มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันไม่สามารถจัดการได้ ซึ่งคณะวิจัยของ IBM ได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยอัลกอริทึมซึ่งสามารถจำลองพฤติกรรมของอะตอมได้อย่างมีประสิทธิภาพลงในวารสารวิทยาศาสตร์ Nature ของอังกฤษ คาดว่าผลการวิจัยนี้ สามารถนำไปต่อยอดในการวิจัยด้านยา วัสดุ และพลังงานได้ในเร็ววัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความสำเร็จของเครื่องทดสอบ 50 คิวบิทของ IBM นั้น เรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ในวงการวิจัยควอนตัมคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยจาก Google ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์เพื่อการใช้งานจริงได้ให้ความเห็นว่า ควอนตัมคอมพิวเตอร์รุ่น 50 คิวบิทนั้น แม้จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอวนตัมคอมพิวเตอร์รุ่นที่แล้ว ๆ มา และเป็นอีกเครื่องที่ยืนยันศักยภาพของควอนตัมคอมพิวเตอร์ แต่ปัญหาในการเชื่อมวงจร สัญญาณรบกวน และข้อผิดพลาดอื่น ๆ ยังไม่หมดไป รวมถึงยังมีผู้แสดงความเห็นว่า “มันไม่ง่ายขนาดนั้น”

IBM ได้ติดตั้งเครื่องทดสอบรุ่นโปรเซสเซอร์ 5 คิวบิท และ 16 คิวบิท โดยทดลองให้บริการ “IBM Q experience” แบบออนไลน์ผ่านคลาวด์ให้กับสมาชิกทั่วไป ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2016 จนถึงปัจจุบัน และเริ่มโครงการ “IBM Q” บริการควอนตัมคอมพิวเตอร์เชิงพาณิชย์สำหรับธุรกิจและการวิจัยในเมื่อเดือนพฤษภาคม 2017

ปัจจุบัน มีผู้ลงทะเบียนใช้งาน “IBM Q experience” 60,000 ราย เป็นมหาวิทยาลัย 1,500 ราย โรงเรียนม.ปลาย 300 ราย และบริษัทเอกชน 300 ราย ถูกใช้ประมวลผลแล้วถึง 1,700,000 ครั้ง และนอกจากจะถูกใช้ในการศึกษาการประมวลผลแบบควอนตัมแล้ว ยังทำให้เกิดเอกสารงานวิจัยนอกเหนือจาก IBM มากกว่า 35 ฉบับ

ที่มา : Nikkan Kogyo Shimbun

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 23 October 2018 12:41
กนิษฐา กาญจนกวี

Author : เกาะติดข่าวเทคโนโลยี  IT Business, Social Media, Gadget review, Marketing, Startup, Blockchain และ Cryptocurrency, Tech Startup และ Business Innovations, ฯลฯ

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion ประเทศไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์งานเหมืองครบวงจร ชูการบริการหลังการขายที่เข้าใจลูกค้ายิ่งกว่าเดิม

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM