Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

นินนาท ไชยธีรภิญโญ "วินาทีนี้เหมาะสมที่สุด ต้องไฮบริด"

พูดถึงค่ายรถยนต์ตอนนี้ "โตโยต้า" น่าจะเป็นแบรนด์ที่มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากที่สุดสำหรับการพัฒนารถยนต์ จากที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงล้วน ๆ ไปสู่พลังงานทางเลือกโดยใช้การขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า

แพ็กเกจที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมส่งเสริมการลงทุนมูลค่าสูงถึง 20,000 ล้านบาททำให้โตโยต้าดู "เอาต์สแตนดิ้ง" มากกว่าทุกแบรนด์ วันก่อน "ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสอัพเดตความคืบหน้าการลงทุนจาก "นินนาท ไชยธีรภิญโญ" ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด โดยระบุชัดเจนว่า

2 หมื่นล้านนั้น เป็นการลงทุนเฉพาะไฮบริดเท่านั้น ซึ่งเร็ว ๆ นี้จะได้เห็นความคืบหน้าของโรงงานผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฮบริด, โรงงานกำจัดซากรถยนต์และแบตเตอรี่อย่างเป็นรูปธรรม

ส่วนรถยนต์ไฟฟ้าหรืออีวีจะมีการยื่นขอส่งเสริมจากบีโอไอภายในปีนี้อีกที เพื่อเดินไปสู่เป้าหมายระดับโลกของโตโยต้าที่กำหนด ภายในปี 2030 รถโตโยต้าทุกรุ่นทุกคันจะต้องเป็น electrified vehicle  

 Q : ความคืบหน้าของโรงงานแบตเตอรี่

ตอนนี้อยู่ระหว่างเตรียมการ ซึ่งทุกอย่างยังคงเป็นไปตามกำหนดตามที่ยื่นขอบีโอไอว่าภายในระยะเวลา 2 ปี แบ่งเป็น 2 สเต็ป คือ ช่วงแรกนำเข้าชิ้นส่วนหรือเซลล์มาประกอบเป็นแบตเตอรี่ จากนั้นจะค่อยเพิ่มสัดส่วนการใช้ชิ้นส่วนในประเทศให้เพิ่มขึ้นตามลำดับขั้นตอน วันนี้รถไฮบริดที่โตโยต้ายื่นรับการส่งเสริม รุ่นแรกคลอดออกมาแล้ว ได้แก่ โตโยต้า ซี-เอชอาร์ กำลังได้รับความนิยม ลูกค้าให้ความเชื่อมั่นในเรื่องเทคโนโลยี เห็นได้จากยอดขายเป็นรุ่นไฮบริดถึง 70% จากเดิมก่อนหน้านี้กลุ่มรถไฮบริดของโตโยต้าจะขายได้เพียง 10% เท่านั้น ซึ่งถือเป็นนิมิตหมายที่ดี อนาคตเมื่อการผลิตรถยนต์ไฮบริดได้อีโคโนมีออฟสเกล จะทำให้โตโยต้าสามารถเพิ่มการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศได้เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ วันนี้จะเห็นได้ว่า เทรนด์ของรถยนต์
ไฮบริดในระดับโลกนั้น มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2040 จะมีสัดส่วนการใช้รถยนต์ที่เป็น electrified vehicle ประมาณ 35% ของยอดขายรถยนต์ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงรถยนต์ไฮบริด, ปลั๊ก-อินไฮบริด, อีวี และฟิวเซลล์ และในจำนวน 35% นี้  โดยส่วนตัวแล้วคิดว่า 70% จะเป็นรถยนต์ไฮบริด เนื่องจากวันนี้ค่ายรถยนต์ต่างมุ่งไปที่รถยนต์ไฮบริดเนื่องจากเป็นรถยนต์ที่ไม่ต้องพึ่งพาระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ รองรับ เช่น สถานีชาร์จแบตเตอรี่ ตัวอย่างคือ เมื่อแบตเตอรี่หมด รถยนต์ไฮบริดยังสามารถใช้เครื่องยนต์ให้วิ่งต่อไปได้ 
และสเต็ปต่อไปคือ ค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ก็จะมุ่งไปที่กลุ่มปลั๊ก-อินไฮบริด ส่วนจะเร็วหรือช้านั้นต้องขึ้นอยู่กับการวิจัยและพัฒนาตัวแบตเตอรี่ ให้มีราคาถูก, น้ำหนักเบา, สามารถชาร์จไฟได้มาก และวิ่งได้ในระยะทางที่ยาวขึ้น ทั้งนี้หากค่ายรถยนต์รายใดสามารถพัฒนาปัจจัยทั้ง 4 ตัวข้างต้นนี้ได้ ก็จะช่วยให้รถยนต์ปลั๊ก-อินไฮบริด และรถยนต์อีวีมาได้เร็วขึ้น 

Q : โรงงานแบตเตอรี่ไฮบริดที่ขอส่งเสริมฯ รองรับได้ถึงกลุ่มรถยนต์อีวีหรือไม่ 

ใช่รองรับได้หมด เพราะแบตเตอรี่พวกนี้สามารถปรับรูปแบบได้โดยทันทีไม่ยาก ภายใต้งบประมาณที่ขอส่งเสริมการลงทุนไป 20,000 ล้านบาทนั้น เป็นการขอรับการส่งเสริมเฉพาะรถยนต์ไฮบริดเท่านั้น ไม่รวมรถยนต์อีวี สำหรับรถยนต์อีวี มีแค่แบตเตอรี่ลูกเดียว ซึ่งในส่วนของโรงงานแบตเตอรี่นั้นสามารถพัฒนาให้ใช้ด้วยกันได้

Q : ภายในสิ้นปีนี้จะต้องขอส่งเสริมฯ สำหรับกลุ่มรถอีวีอีกครั้ง 

ถูกต้อง โตโยต้ากำลังอยู่ระหว่างการศึกษาความพร้อม เพื่อพิจารณาขอยื่นรับการส่งเสริมการลงทุนกลุ่มรถยนต์ปลั๊ก-อินไฮบริดและรถยนต์อีวี ภายในวันที่ 31 ธ.ค.นี้ 

Q : จากนี้รถโตโยต้าจะเน้นไฮบริดทุกรุ่น

เรามีประกาศในนโยบายโกลบอลของโตโยต้าว่าภายในปี 2030 รถยนต์โตโยต้าจะต้องเป็น electrified vehicle ทุกรุ่น การทำงานก็ต้องมุ่งไปตามโกลบอลโพลิซี่

Q : โอกาสคนไทยจะได้ใช้ "อีโคคาร์อีวี"

ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของแต่ละบริษัทที่จะต้องชั่งใจ ว่าทำอีโคคาร์ได้รับแรงจูงใจแบบนี้ ถ้าเป็นไฮบริดจะได้รับการส่งเสริมแบบนี้ แล้วถ้าไปถึงรถยนต์อีวีจะได้รับแรงจูงใจอีกแบบหรือไม่ 
ค่ายรถยนต์จะต้องชั่งใจ ว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือ ลูกค้าสามารถรับราคารถยนต์นั้น ๆ ได้หรือไม่ ? 
โดยเทคโนโลยีไม่ยากที่จะพัฒนารถยนต์อีโคคาร์ให้เป็นรถยนต์อีโคคาร์อีวี เพียงแต่ว่าเราต้องสร้างความสมดุลในส่วนของความต้องการของลูกค้าว่า ต้องการด้านใดไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งแวดล้อมหรือกำลังในการขับเคลื่อน ฯลฯ ส่วนใหญ่ "ราคา" จะเป็นตัวตัดสิน และอีกปัจจัยที่มีผลคือ "ราคาขายต่อ" ของตัวรถ รถกลุ่มนี้ถ้ายังไม่สามารถพัฒนาแบตเตอรี่ให้มีนวัตกรรมใหม่ ๆ แล้วราคายังแพง ระยะเวลาใช้งานสั้น จะทำให้ราคาขายต่อตกมาก  บางครั้งใช้งานไปแล้วแค่ 2 ปี ราคาตกลงไปเหลือแค่ 30-40% เท่านั้น ผู้บริโภคก็รับไม่ไหวเช่นกัน 

Q : ภายในปี 2020 โตโยต้าจะผลิตแบตเตอรี่ตัวใหม่บ้านเราได้หรือไม่ 

นั่นเป็นเรื่องของบริษัทแม่ ถ้าเมื่อใดที่บริษัทแม่เรามี ส่วนของประเทศไทยเราก็มีได้ไม่ยากแต่วินาทีนี้เหมาะที่สุดคือ "ไฮบริด" 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Thursday, 18 March 2021 07:08
พาณิชย์ ชินนาค

Author : เกาะติดข่าววงการก่อสร้าง แวดวงอุตสาหกรรมหนัก เคมีภัณฑ์และพลาสติก การกลั่นน้ำมัน โรงเหล็ก การทำเหมือง การสร้างเขื่อน สนามบิน ทางรถไฟ ถนน อ่างเก็บน้ำ ระบบชลประทาน ฯลฯ

Latest from พาณิชย์ ชินนาค

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion ประเทศไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์งานเหมืองครบวงจร ชูการบริการหลังการขายที่เข้าใจลูกค้ายิ่งกว่าเดิม

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM