Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

ชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ ชี้เทรนด์อุตฯชิ้นส่วนตั้งรับรถอีวี

อุตสาหกรรมยานยนต์ถือเป็นอุตสาหกรรมหลัก ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย และทราบกันดีว่าทิศทางแนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเครื่องยนต์ สันดาปภายในไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV รวมทั้งยานยนต์ไร้คนขับ

ดังนั้น การตั้งรับและการปรับตัวกลุ่มผู้ผลิตในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์จะปรับตัวและตั้งรับอย่างไรนั้น วันนี้ผู้บริหารสาวมากความสามารถ “ชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ” รองประธานกรรมการ บริษัท ไทยซัมมิท โอโต พาร์ท อินดัสตรี จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่เมืองไทย สะท้อนมุมมองในงานเสวนาเกี่ยวกับหัวข้อ Transformation : เกมแห่งอนาคต ในงานสัมมนาแห่งปี THAILAND 2018 จุดเปลี่ยนและความท้าทาย จัดโดยหนังสือพิมพ์ “ประชาชาติธุรกิจ” เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 ที่ห้องบอลรูม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

“ชนาพรรณ” กล่าวว่า ถ้าจะพูดถึงเกมแห่งโลกในอนาคต…ของอุตสาหกรรมยานยนต์ในวันนี้ คงจะพูดถึงเรื่องอื่นไปไม่ได้ นอกจาก “รถยนต์ไฟฟ้า”

ก่อนจะพูดเรื่องของอนาคตนั้น เราต้องมองภาพในปัจจุบันก่อน

รู้จักรถยนต์ประเภทต่าง ๆ

ประเภทรถที่เรามีในปัจจุบัน คือ 1 กลุ่มรถที่พึ่งพาเครื่องยนต์เป็นหลัก หรือเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือ (Internal Combustion Engine : ICE) 2.เครื่องยนต์ไฮบริด (Hybrid Electric Vehicles : HEV) หรือรถที่มีทั้งเครื่องยนต์และแบตเตอรี่อยู่ในคันเดียวและสลับการใช้งาน 3.ปลั๊ก-อินไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicles : PHEV) ซึ่งเป็นรถยนต์ที่เหมือนกับรถยนต์ไฮบริด เพียงแต่ว่ามีสายสำหรับการชาร์จไฟ

4.รถไฟฟ้า (Battery Electric Vehicles : BEV) ซึ่งเป็นรถยนต์ที่ไม่มีเครื่องยนต์แล้ว และรถยนต์เทสล่า ทุกรุ่นอยู่ในกลุ่มนี้ ก็อยู่ในรถกลุ่มนี้แล้ว นิสสัน ลีฟ ก็คือรถยนต์ที่ขายดีที่สุดในโลกสำหรับรถยนต์กลุ่มนี้ และมิตซูบิชิ ไอ-มีฟ ก็อยู่ในกลุ่มนี้

5.รถยนต์พลังงานไฮโดรเจนในการขับเคลื่อน หรือ (Fuel Cell Electric Vehicles : FCEV) ซึ่งค่ายรถยนต์ที่สนใจจะเป็นเฉพาะค่ายรถยนต์จากญี่ปุ่น คือ โตโยต้า และฮอนด้า

 

ไฮบริดตัวเชื่อมเพื่อส่งผ่าน

ส่วนกลุ่มประเทศที่มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลายแล้ว จากข้อมูลการเก็บสถิติ ระหว่างปี 2553-2559 จะเห็นว่า กลุ่มประเทศในยุโรป ทั้งอังกฤษ, เนเธอร์แลนด์, สวีเดน, เยอรมนี จะเป็นกลุ่มประเทศที่นิยมใช้รถยนต์ ปลั๊ก-อิน ไฮบริด มากกว่ารถยนต์ไฟฟ้า ส่วนกลุ่มประเทศที่นิยมใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากกว่ารถยนต์ปลั๊ก-อิน ไฮบริด ได้แก่ จีน, นอร์เวย์, ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น และอื่น ๆ ขณะที่อเมริกาและกลุ่มประเทศอื่น ๆ นั้น สัดส่วนการใช้รถยนต์ระหว่าง 2 ประเภท ยังก้ำกึ่งและบอกไม่ได้ว่าจะเลือกไปในทิศทางใด

จากข้อสิ่งสำคัญที่สุด คือนโยบายของรัฐบาลมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะกระตุ้นให้รู้ว่าประชาชนควรจะเลือกใช้พลังงานประเภทใด เช่น จีน ชัดเจนจะไปที่รถยนต์ไฟฟ้าเลยไม่ใช่ไฮบริด ดังนั้นสัดส่วนที่ออกมาจึงเป็นรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า

แต่ส่วนที่อยากให้จับตามองคือกลุ่มประเทศอื่น ๆ เฉพาะปี 2559 มียอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่ใช่กลุ่มประเทศเหล่านี้ทั่วโลกมีเพียง 50,000 คันเท่านั้น บ่งบอกว่าการส่งผ่านระหว่างการใช้รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ ไปสู่รถยนต์ไฟฟ้านั้น จะเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดด หรือว่าจะมีเครื่องยนต์ไฮบริดมาเป็นตัวส่งผ่านหรือเป็นตัวคั่นกลาง

สำหรับประเทศไทยเท่าที่ดูจากนโยบายของรัฐบาล และค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ก็ดี เชื่อว่า จะมีการส่งผ่านโดยไฮบริด

ข้อมูลชี้รถยนต์ไฟฟ้ามาแน่

การที่เราจะทรานส์ฟอร์มเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกของรถยนต์ไฟฟ้านั้นมีตัวเลขที่น่าสนใจ จากผลสำรวจ 58% ของคนที่ได้รับการสำรวจเมื่อปี 2558 นั้นอยากที่จะลองนั่งรถยนต์แบบที่สามารถขับขี่อัตโนมัติ โดยไม่มีคนขับ ทั้ง ๆ ที่ตัวเลขยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2558 อยู่ที่ 746,000 คัน เท่านั้น ซึ่งต้องยอมรับว่าข้อมูลและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นมาเร็วมาก 2 ปีที่แล้ว ข้อมูลและยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า ยังน้อยมากสำหรับคนทั่วไปอยู่ แต่ว่าคนเกินครึ่งนั้นต้องการที่จะทดลองนั่ง

ดังนั้นคาดการณ์ตัวเลขยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2583 ทั่วโลกจะมียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าถึง 65 ล้านคันทั่วโลก ถือเป็นตัวเลขที่มีนัยสำคัญมาก เนื่องจากยอดขายรถยนต์ทุกประเภทปัจจุบันมี 90 ล้านคัน แปลว่าใน 20 ปีข้างหน้ายอดตรงนี้จะเพิ่มขึ้นเกือบจะ 100% เป็น 60 ล้านคัน และ 90 ล้านคัน จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า นั่นแปลว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะมาแน่นอน

แรงขับให้เกิดขึ้นจริงไม่ใช่แค่ฝัน

มุมมองที่จะทำให้รถยนต์ไฟฟ้าเกิดขึ้นจริง 1.การส่งเสริมของรัฐบาล การให้สิทธิประโยชน์ มาตรการต่าง ๆ เช่น อังกฤษกับฝรั่งเศส ชัดเจนแล้วว่าจะห้ามขายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันในปี 2583 นั่นแปลว่าคนที่ทำเฉย ๆ จะไม่ได้รับอะไรจากรัฐบาล คนที่ไม่ทำตามจะมีบทลงโทษ มีความผิด ในขณะที่อีกหลาย ๆ ประเทศเลือกใช้การให้รางวัลแทนบทลงโทษ เช่น ชักชวนผู้ผลิตมาลงทุน ชักชวนให้คนใช้

เพราะฉะนั้นจะเห็นว่า ประเทศที่ใช้นโยบายการควบคุมและการลงโทษจะเห็นผลทางการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า นโยบายที่จะทำให้คนใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้ โดยที่รัฐบาลไม่จำเป็นจะต้องสนับสนุน หรือช่วยเหลือผู้ซื้อ ผู้ขาย และผู้ใช้งาน เป็นตัวเงิน สิ่งแรกที่ง่าย ๆ เลย เช่นถ้าคุณใช้รถยนต์ไฟฟ้า สามารถวิ่งในบัสเลนได้ ก็ไม่ต้องเผชิญปัญหารถติด, ใจกลางกรุงลอนดอนซึ่งรถติดมาก ถ้าเราเข้าไปในเขตนั้นจะต้องเสียภาษีเป็นค่าใช้ถนน แต่สำหรับคนใช้รถไฟฟ้าวิ่งเข้าไปไม่ต้องเสียภาษี ถัดมาเป็นการส่งเสริมซื้อแบบฟลีต

อาทิ หน่วยงานของรัฐบาลจะช่วยเพิ่มปริมาณรถยนต์ไฟฟ้าบนท้องถนนได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีปริมาณมาก และการเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภค เช่น ตำรวจของแคลิฟอร์เนีย เลือกซื้อรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ยี่ห้อซีโร่ มาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ขนาดตำรวจยังใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในการจับผู้ร้าย ดังนั้นรถจะต้องมีความเร็ว แรง และเสถียรพอสมควร หรืออีกตัวอย่างในจีนจะส่งเงินสนับสนุน 1.2 พันล้านในการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาของคนที่ทำอีโคซิสเต็มทั้งหมด โดยมีเป้าหมายให้จุดชาร์จ 5 ล้านคัน ในปี 2563 และช่องจอดพิเศษให้กับที่จอดรถยนต์ไฟฟ้า

สร้างมาตรฐานเดียวกัน

การลงทุนในเรื่องระบบสาธารณูปโภคเพื่อรองรับต่าง ๆ การกำหนดมาตรฐานของหัวชาร์จไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า ใช้ไฟสูง กลาง ต่ำ มีไฟกี่ประเภท รวมทั้งจุดมาตรฐานการจ่ายไฟ ให้เป็นมาตรฐานจากนั้นไปสู่สเต็ปที่ 3 จุดร่วมไฟแต่ละจุดจะเชื่อมไปสู่จุดจ่ายไฟหลักจากอาคาร บ้านเรือน หรือท้องถนนนั้น จะรักษาบาลานซ์อย่างไร เนื่องจากรถไฟฟ้าส่วนใหญ่จะมีการชาร์จในช่วงเวลาเดียวจากสถิติ คือช่วง 20.00-06.00 น. ไฟบ้านปกติใช้เวลาชาร์จราว ๆ 6 ชั่วโมง ต้องมาดูว่ากระแสที่ใช้จะเป็นอย่างไร มาตรฐานไฟของตัวรถไฟฟ้าในปัจจุบันไม่มีมาตรฐาน เนื่องจากต่างคนต่างทำ ของแต่ละประเทศ ซึ่งเพิ่งจะเริ่มมีมาตรฐานใหม่ออกมา เป็นมาตรฐานไฟในรถเรียกว่ามาตรฐาน CCS แต่ก็ยังมีความเชื่อมั่นว่าถ้ารถไฟฟ้ามีมาตรฐานเพิ่มมากขึ้น จะช่วยส่งเสริมการส่งออกไปยังทั่วโลกได้ด้วยยังไม่นับถึงแบตเตอรี่ ที่วันนี้รีไซเคิลได้ยากมาก และมีต้นทุนค่อนข้างสูง

ดังนั้นผู้ผลิตแบตเตอรี่ จึงบอกว่าจะช่วยได้มาก หากมีการตั้งมาตรฐาน การออกแบบไฟฟ้า และแบตเตอรี่ตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบแบตเตอรี่และไฟฟ้า รวมถึงทำต้นทุนให้ต่ำลง ถ้าแบตเตอรี่ มีราคาลดลงจะทำให้รถยนต์ไฟฟ้ามีราคาที่สามารถจับต้องได้ง่ายมากขึ้น อีกอย่างคือ มาตรฐานรถยนต์ ออโตเมชั่น หลายคนไม่ทราบว่ารถยนต์ไฟฟ้า ที่ใช้อยู่มีมาตรฐานเหมือนกันทั่วโลกคือ มาตรฐาน 5 ระดับ

ปัจจุบันเราอยู่ในระดับที่ 2 แต่ระดับที่ 5 นั้นจะออกมาราวปี 2563 ดังนั้นจะสังเกตเห็นว่า แต่ละค่ายจะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าจะหลังปี 2563 ทั้งนั้นทำให้เชื่อได้ว่าค่ายรถยนต์ต่างรอเรื่องกฎระเบียบตัวนี้อยู่ คนทั่วไปมักจะพูดคำว่ารถยนต์ไฟฟ้า กับยานยนต์ไร้คนขับสลับกัน เสมือนเป็นเรื่องเดียวกัน จริง ๆ เหตุผลก็คือไม่มีค่ายรถยนต์ค่ายไหนที่พัฒนายานยนต์ไร้คนขับบนแพลตฟอร์มของเครื่องยนต์สันดาปภายใน แต่เข้าพัฒนาบนแพลตฟอร์มของรถยนต์ไฟฟ้าทั้งสิ้น ดังนั้น จุดปลายของถนนจึงกลายเป็นเรื่องเดียวกัน

ยันรถยนต์ไฟฟ้าไม่นานเกินรอ

สิ่งที่ถูกถามบ่อยมากคือ รถยนต์ไฟฟ้าจะทำได้จริงหรือไม่ ดูจากค่ายรถยนต์ต่าง ๆ เช่น วอลโว่ ตั้งเป้า 1 ล้านคันในปี 2563, เรโนลต์-นิสสัน 1.5 ล้านคัน ในปี 2563, เทสล่า 1 ล้านคัน ในปี 2563, ฮอนด้า 1 ล้านคัน ในปี 2573 โฟล์คสวาเกน3 ล้านคันในปี 2568 และแบรนด์จีนทุกแบรนด์รวมกัน 4.52 ล้านคัน ในปี 2563 ถ้าเราพูดถึงการลงทุนที่เยอะขนาดนี้ นั่นหมายถึงการลงทุนของชิ้นส่วนที่มากมายมหาศาล ไม่นับเฉพาะค่ายรถยนต์แต่เราพูดถึงซัพพลายเชนทั้งระบบ เราพูดถึงกำลังคน มันสมอง เทคโนโลยี ไม่ต้องพูดถึงเรื่องจำนวนเงิน เพราะฉะนั้นถ้าทุกคนลงทุนมากมายขนาดนี้ แล้วรถไฟฟ้าจะไม่มาได้หรือ ?

 

ซัพพลายโลกยานยนต์เปลี่ยน

การผลิตแบตเตอรี่มีแร่หลักอยู่ 2 อย่างคือ ลิเทียม และโคบอลต์ ซึ่งลิเทียมมีอยู่มากใน 3 ประเทศ คือ โบลิเวีย, ชิลี และอาร์เจนตินา ดังนั้น เมื่อรถยนต์ไม่ใช้น้ำมันแล้วความสำคัญของโลกจะเคลื่อนย้ายมาอยู่ที่ 3 ประเทศนี้ ดังจะเห็นได้ว่าเสียงของโอเปกในโลกนี้ไม่ค่อยดังเหมือนเมื่อก่อน

อีกสิ่งหนึ่งที่เราอาจได้เห็นเมื่อแบตเตอรี่ยังเป็นต้นทุนที่สูง ก็น่าจะมีธุรกิจใหม่คือ ลีสซิ่งแบตเตอรี่ ซึ่งถ้ามีก็จะทำให้คนตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องแบกภาระเรื่องการกำจัดแบตเตอรี่ และอนาคตการเปลี่ยนแบตเตอรี่ในรถก็ง่ายเหมือนกับการเปลี่ยนถ่าน 3 เอ จุดเปลี่ยนที่จะเกิดกับอุตสาหกรรมอีกอย่างหนึ่งและหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

เมื่อรถยนต์ไฟฟ้ามาก็น่าจะมีผู้ร่วมวงการได้ล้มหายจากไป เพราะชิ้นส่วนที่ใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าจะน้อยลง หลัก ๆ คือเครื่องยนต์ ท่อไอเสีย คาร์บูเรเตอร์ หัวฉีด ฯลฯ หรือไม่บางรายอาจจะต้องปรับตัว โดยหันไปผลิตให้อุตสาหกรรมอื่น ๆ ทดแทน หรือพลิกตัวไปสู่ชิ้นส่วนยานยนต์อื่น ๆ ชดเชย เช่น สายไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ มอเตอร์ไฟฟ้า

ดังนั้นเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าจะมีผู้ร่วมวงการรายใหม่ ๆ ซึ่งเป็นคนสำคัญในซัพพลายเชนมากขึ้นด้วย อีกส่วนที่ต้องคำนึงคือ น้ำหนักของตัวรถ ทุกค่ายพยายามพัฒนาทำให้มีน้ำหนักเบามากที่สุด เพราะถ้าตัวถังเบาลงจะทำให้ระยะทางวิ่งต่อการชาร์จไฟหนึ่งครั้งไปได้ไกลที่สุด ซึ่งอาจจะต้องเปลี่ยนการผลิตบางส่วนรวมถึงระบบซัพพลายเชนด้วย วัตถุดิบใหม่ ผู้ที่จะอยู่รอดในอุตสาหกรรมยานยนต์ได้นั้นจะต้องปรับตัว

ค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ในอนาคตอันใกล้นี้หัวใจที่ทำให้รถขับเคลื่อนได้จะเป็นซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชั่น ซอฟต์แวร์จะมีความสำคัญที่สุด เราคงได้เห็นความร่วมมือระหว่างค่ายรถยนต์และบริษัทซอฟต์แวร์เพิ่มมากขึ้น และจะมีผู้เล่นรายใหม่เข้ามา

สุดท้ายธุรกิจดีลเลอร์จะถูกลดบทบาท เมื่อพัฒนาไปถึงรถยนต์ไร้คนขับ หรือคาร์แชริ่งที่ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของรถยนต์อีกต่อไป เพราะลูกค้าเปลี่ยนความคิดและไม่ต้องการซื้อรถยนต์ จำนวนรุ่นของรถยนต์จะน้อยลง รวมทั้งออปชั่นที่มีมาให้ในรถ ลูกค้าจะเข้าโชว์รูมน้อยลง การซ่อมบำรุงรักษาจะน้อยมาก เนื่องจากเป็นระบบซอฟต์แวร์ การเกิดอุบัติเหตุการชนจะลดลง และบุคลากรในอุตสาหกรรมตัวแทนจำหน่ายรถยนต์จะน้อยลง เปลี่ยนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์มากกว่า

และนี่คือสิ่งที่จะเปลี่ยนไปในอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่จะเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ “ชนาพรรณ” เชื่อว่าเราจะได้เห็น new normal ของอุตสาหกรรมยานยนต์ได้ในอีกไม่นานเกินรอ

Rate this item
(2 votes)
Last modified on Friday, 09 November 2018 18:51

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion ประเทศไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์งานเหมืองครบวงจร ชูการบริการหลังการขายที่เข้าใจลูกค้ายิ่งกว่าเดิม

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM