Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

เบื้องหลังดีล CPN ทุ่ม 20,000 ล้าน ฮุบ G Land ยึดอาณาจักร พระราม 9

หลังจากเป็นกระแสข่าวลือมาพักใหญ่  ว่า CPN หรือ บริษัท เซ็นทรัล พัฒนา จำกัด (มหาชน) จะซื้อหุ้น GLANDหรือบริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์​  จำกัด (มหาชน)  ในที่สุดข่าวลือก็กลายเป็นข่าวจริง เพราะวันที่ 12 กันยายน 2561 CPN ได้ทำหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ว่า ได้ให้บริษัท ซีพีเอ็น พัทยา จำกัด หรือซีพีเอ็น พัทยา ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ CPN ที่ถือหุ้น 100%  ทำสัญญาเพื่อซื้อหุ้นสามัญของ GLAND

CPN ทุ่ม 20,000 ล้านฮุบ GLAND

ดีลครั้งนี้ CPN ซื้อหุ้นเบื้องต้นสัดส่วน 50.43% หรือกว่า 3,278 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 3.10 บาท คิดเป็นเงินกว่า 10,162 ล้านบาท ซึ่งมี 5 ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นผู้นำหุ้นออกขาย ได้แก่ 1.บริษัท เจริญกฤต เอ็นเตอร์ไพร้ส์​จำกัด 2.บริษัท เบ็ล พาร์ค เรสซิเดนซ์​ จำกัด 3. นายเจตรศิริ บุญดีเจริญ 4.นางสาวรมณี บุญดีเจริญ และ 5.นายเจตรมงคล บุญดีเจริญ​  หลังจากทำธุรกรรมครั้งนี้เรียบร้อยแล้ว ซีพีเอ็น พัทยา ยังต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นที่เหลืออีกกว่า 3,221 ล้านหุ้น หรือสัดส่วน 49.57% ในราคา 3.10 บาท หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 9,987 ล้านบาทด้วย  ทำให้ดีลครั้งนี้ CPN ต้องเตรียมทุนซื้อรวมกว่า 20,000 ล้านบาทเลยทีเดียว

ซื้อแล้วได้อะไรบ้าง

ปัจจุบันทรัพย์สินของ GLAND ประกอบด้วย  โครงการเดอะไนน์​ทาวเวอร์ส แกรนด์​พระราม 9 พื้นที่ค้าปลีกให้เช่า  โครงการ The Shoppes@the Ninth และอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ อาคารสูง Super Tower  นอกจากนี้ GLAND ยังมีบริษัทย่อยอีก 9 บริษัท ประกอบด้วย

1.บริษัท สเตอร์ลิง อีควิตี้ จำกัด มีโครงการอาคารสำนักงานให้เช่า ยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์  โดยมีพื้นที่รวม 46,825 ตารางเมตร  มีพื้นที่ค้าปลีกให้เข่า The Shoppes @ Unilever House และมีแผนพัฒนาโครงการโรงแรมในบริเวณโครงการ เดอะ แกรนด์​ พระราม 9

2.บริษัท พระราม 9 สแควร์ จำกัด มีโครงการอาคารสำนักงานให้เช่า จี ทาวเวอร์ แกรนด์​ พระราม 9 และพื้นที่ค้าปลีกให้เช่า The Shoppes @ G Tower โดยมีพื้นที่รวมทั้งหมด 70,000 ตารางเมตร  ประกอบด้วยอาคารสูง 2 อาคาร สูง 40 ชั้น และ 30 ชั้น

3.บริษัท เบ็ล ดีเวลลอปเมนท์​ จำกัด มีโครงการคอนโดมิเนียม เบ็ล แกรนด์ พระราม 9  จำนวน 8 อาคาร รวมห้องพัก 1,991 ยูนิต และพื้นที่ให้เช่า โครงการ The Shoppes @Belle

4.บริษัท จีแลนด์ พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์​ จำกัด  มีที่ดินอยู่ในโครงการเดอะ แกรนด์ พระราม 9 ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการพื้นที่ค้าปลีกให้เช่า

5.บริษัท เบ็ล แอสเซทส์  จำกัด มีที่ดินเปล่าบริเวณโครงการแกรนด์ คาแนล ดอนเมืองที่รอการพัฒนาเป็นโครงการบ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียม

6.บริษัท พระราม 9 สแควร์ โฮเต็ล จำกัด ยังไม่ได้ดำเนินธุรกิจ

7.บริษัท เบย์วอเตอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์​ จำกัด (มหาชน)  ตั้งใจใช้บริษัทนี้ทำการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ร่วมกัน  ปัจจุบัน เบย์วอเตอร์  มีที่ดินเปล่าบริเวณพหลโยธินที่อยู่ระหว่างพัฒนา

8.บริษัท รัชดา แอสเซท โฮลดิ้ง จำกัด บริษัทย่อยที่ถือหุ้นของบริษัท เบย์วอเตอร์​ จำกัด

9.บริษัท จีแลนด์​ รีท แมเนจเม้นท์​ จำกัด เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

นอกจากนี้  ยังมีโครงการเบ็ล สกาย คอนโดมิเนียม จำนวน 1,840 ยูนิต บริเวณถนนกำแพงเพชร 6 (ถนนคู่ขนานกับถนนวิภาวดีรังสิต) เลียบทางรถไฟ  พื้นที่โครงการติดโรงแรมมิราเคิล แกรนด์​คอนเวนชั่น ปัจจุบันโครงการอยู่ระหว่างการทบทวนรูปแบบโครงการ   โครงการบ้านเดี่ยว แกรนด์ คาแนล ดอนเมือง โครงการ 1 จำนวน 194 แปลง และแกรนด์ คาแนล ดอนเมือง โครงการ 2 จำนวน 199 แปลง ซึ่งบริษัทถือสิทธิ์ในการบริหารจัดการ  บริหารการตลาด และบริการการขาย โดยได้รับรายได้เป็นค่าบริการบริหารโครงการ

ต่อจิ๊กซอร์ อาณาจักร CPN บน NEW CBD  

ในสายตานักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์  ทุกคนมองเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า  ถนนรัชดาภิเษก ย่านพระราม 9 กำลังเป็นย่านใจกลางธุรกิจแห่งใหม่ หรือ  CBD ของกรุงเทพฯ​ จากปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมศักยภาพของทำเลดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น

-ระบบคมนาคมขนส่ง  ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ที่เปิดให้บริการ  เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ฝั่งตะวันออก เฟส 1 เส้นทางมีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรม และฝั่งตะวันตก เฟส 2 เส้นทาง ศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชั่น ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  เส้นทางเชื่อมต่อไปยังพื้นที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นถนนมอเตอร์เวย์​ ทางด่วน เป็นต้น

-การพัฒนาพื้นที่สำนักงานให้เช่า ซึ่งเกิดขึ้นจำนวนมาก เป็นผลทำให้เกิดเป็นแหล่งงานสำคัญ  ของทั้งบริษัทไทยและบริษัทนานาชาติ

-ชุมชนที่พักอาศัย  การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย  โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม เกิดขึ้นจำนวนมาก  จนนับได้ว่าเป็นย่านที่มีอัตราการพัฒนาโครงการคอนโดฯ​ สูงแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ​ ซึ่งเกิดขึ้นตลอดเส้นทาง และยังกระจายตัวเข้าไปตามตรอกซอยซอยด้วย

-ย่านศูนย์การค้าและแหล่งช้อปปิ้ง  ย่านพระราม 9 มีโครงการค้าปลีกขนาดใหญ่เกิดขึ้น  ตั้งแต่แยกรัชดา-ลาดพร้าว  ตลอดมาจนถึงแยกสุขุมวิท  จากกลุ่มทุนขนาดใหญ่ของประเทศ ไม่เฉพาะของ CPN  ซึ่งมีโครงการเซ็นทรัลพลาซ่า แกรนด์ พระราม 9 อยู่แล้ว ทำให้กลายเป็นแหล่งช้อปปิ้งของทั้งชาวไทยและต่างชาติจำนวนมกา

จากปัจจัยหลักๆ ดังกล่าว  ส่งผลให้ในย่านพระราม 9  จึงเป็น CBD แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ​ อย่างปฏิเสธไม่ได้  ซึ่งโครงการของ CPN แม้ว่าจะมีทั้งศูนย์การค้า  พื้นที่สำนักงานให้เช่า  แต่เทียบสัดส่วนยังมีปริมาณไม่มาก  การได้โครงการต่างๆ ของ GLAND มาเติมเต็มครั้งนี้  จะส่งผลให้ CPN  มีอนาจักรธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หลากหลายรูปแบบ และจำนวนมากที่สุดในย่านถนนรัชดาภิเษก-พระราม 9 ก็ว่าได้

เบื้องหลังดีล CPN-GLAND

เป็นคำถามที่น่าสงสัยว่าเหตุใด GLAND ถึงขายหุ้นในครั้งนี้  หลังจากจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มากว่า 10 ปี  หากดูจากสินทรัพย์ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา จะพบว่ามีมูลค่า 29,711.83 ล้านบาท มีหนี้สินรวม 17,733.64 ล้านบาท ส่วนผู้ถือหุ้น 11,247.98 ล้านบาท  มีกระแสเงินสด 924.44 ล้านบาท เท่านั้น  จะเห็นได้ว่าสัดส่วนของหนี้มีกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น  แถมกระแสเงินสดก็มีไม่มาก  ทำให้แผนการดำเนินธุรกิจกับหลายโครงการที่ได้เตรียมไว้อาจจะไม่คล่องตัวมากนัก  อย่างโปรเจ็กต์​ Super Tower ซึ่งต้องการหาผู้ร่วมทุนมาพัฒนาโครงการ  ก็ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด  ทำให้ผู้บริหารเห็นว่าการขายหุ้นให้กับมืออาชีพมาพัฒนาต่อน่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า

สำคัญกว่านั้น  ผู้บริหารคนสำคัญอย่าง นายโยธิน บุญดีเจริญ  ประธานกรรมการ ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  มีอายุมากถึง 76 ปี ต้องการวางมือจากการดำเนินธุรกิจ  ขณะที่ทายาททางธุรกิจทั้ง 3 คน ได้แก่ นายเจตรศิริ บุญดีเจริญ  นางสาวรมณี บุญดีเจริญ และนายเจตรมงคล บุญดีเจริญ​ ซึ่งได้เข้ามาช่วยบริหารและดูแลธุรกิจ  ต่างมีความต้องการในการออกไปดำเนินธุรกิจเป็นของตนเองมากกว่า  จึงน่าจะเป็นเหตุผลสำคัญที่เกิดดีลใหญ่ขึ้น  เพราะการขายกิจการให้กับมืออาชีพเข้ามาบริหารงานแทนน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า รวมทั้ง G Land ก็มีความสัมพันธ์อันดีกับ CPN โดยร่วมมือกันในโครงการผืนนี้บางส่วนอยู่แล้ว ดังนั้นการขายหุ้นให้กับ “เซ็นทรัล” พันธมิตรกระเป๋าหนักจึงเป็นทางออกที่น่าจะดีที่สุดในขณะนี้…สำหรับแฟนๆ ที่ลุ้นโครงการ Super Tower ตึกที่สูงที่สุดในอาเซียน ก็ดูจะมีความหวังได้เห็นของจริงมากขึ้น แต่ผู้ถือหุ้นรายใหม่รายนี้จะเดินหน้าโครงการนี้ต่อหรือไม่ ต้องลุ้นกัน

ที่มา : brandbuffet

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 23 October 2018 12:45
ปนิตา ปุญญเดช

Author : เกาะติดข่าวในเวดวงอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็น บ้าน, คอนโดมิเนียม, ทาวโฮม, ออฟฟิค, การสร้างโรงงาน, ที่ดิน, การจัดสวน, สนามกอล์ฟ, ทั้งด้านการก่อสร้าง, การซื้อขายแลกเปลี่ยน ฯลฯ

Latest from ปนิตา ปุญญเดช

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion ประเทศไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์งานเหมืองครบวงจร ชูการบริการหลังการขายที่เข้าใจลูกค้ายิ่งกว่าเดิม

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM