Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

สภาพการใช้งาน Edge Computing ต่างกัน การออกแบบงต้องรองรับความหลากหลายอย่างลงตัว

โดย นายแอบเบย์ แอนิล โกสานการ์ รองประธานกลุ่ม Secure Power ชไนเดอร์ อิเล็คทริค(Schneider Electric) ประเทศไทย ลาว และเมียนมา

ในยุค 4.0การดำเนินธุรกิจต่างๆ ล้วนขึ้นอยู่กับ ระบบไอทีและเน็ตเวิร์ก ในแต่ละพื้นที่ ที่จะช่วยในเรื่องการประมวลผล การจัดเก็บข้อมูลและการเชื่อมต่อเครือข่ายได้ใกล้กับจุดที่ใช้งานมากที่สุดหรือเรียกกันว่าเอดจ์คอมพิวติ้ง (edge computing) ที่นับเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจในแต่ละวัน โดย ระบบเอดจ์คอมพิวติ้งเหล่านี้จะต้องออกแบบให้มีความยืดหยุ่นแม้ว่าความต้องการใช้งานพื้นฐานจะเหมือนกัน แต่มีความต้องการและใช้งานที่แตกต่างกัน ทำให้เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญเพราะอาจส่งผลต่อการนำระบบโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพมาให้การสนับสนุนและปกป้องอุปกรณ์ไอทีสำคัญ ทั้งในเรื่องของอุณหภูมิ ความชื้น การรักษาความปลอดภัยและการเข้าถึงพื้นที่ รวมถึงวัตถุประสงค์ของการใช้พื้นที่นั้นๆ โดยปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่แตกต่างสำหรับอุปกรณ์ไอทีที่อยู่ภายนอกอาคาร เช่นที่เสารับส่งสัญญาณ (cell tower) เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ที่อยู่ภายในอาคารที่มีการควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสม ทั้งนี้ เราจึงได้กำหนดสภาพแวดล้อมเอดจ์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน พร้อมคำแนะนำและการนำเสนอแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการออกแบบในเรื่องของ เสถียรภาพของระบบไฟ้ฟ้าระบบระบายความร้อน การรักษาความปลอดภัย ฯลฯ ตามปัจจัยความเสี่ยงของสภาพแวดล้อมแต่ละประเภท

 

สภาพแวดล้อมเอดจ์คอมพิวติ้ง3 ประเภท

เราเชื่อว่าสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันแบ่งออกเป็น3 ประเภท ได้แก่ (1)สภาพแวดล้อมแบบห้องเฉพาะด้านไอที (2)สภาพแวดล้อมในสำนักงานและในการพาณิชย์ (3) สภาพแวดล้อมที่ควบคุมยากอย่างในอุตสาหกรรม

สภาพแวดล้อมแบบห้องเฉพาะด้านไอที

สภาพแวดล้อมไอทีคือพื้นที่ซึ่งมีการควบคุมอุณหภูมิพร้อมจำกัดการเข้าถึงโดยออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดวางอุปกรณ์ไอทีในส่วนเอดจ์ได้อย่างปลอดภัยหากนึกถึงตู้ที่มีการเดินสายไฟหรือห้องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ปัจจุบันพื้นที่เหล่านี้ต้องรองรับการประมวลผลที่หนักหน่วงยิ่งขึ้น รวมถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับธุรกิจมากขึ้นซึ่งต้องอาศัยความยืดหยุ่นในระดับสูงและให้ความสามารถในการเชื่อมต่อและปฏิสัมพันธ์ร่วมกับสถาปัตยกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมยิ่งขึ้น (เช่นระบบคลาวด์ และดาต้าเซ็นเตอร์ระดับภูมิภาค)

นอกจากนี้บ่อยครั้งที่ระบบทำความเย็นมักจะถูกมองข้ามในพื้นที่เหล่านี้ซึ่งมีแร็คที่เป็นตู้ใส่อุปกรณ์อยู่เพียง 1 หรือ 2 ตู้แร็ค แต่ก็ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นซึ่งหากจำเป็นจะต้องเพิ่มระบบการทำความเย็นบางประเภทเข้ามาแต่หากความหนาแน่นน้อยกว่า 2kW ต่อแร็ค การระบายความร้อนด้วยพัดลมก็ค่อนข้างจะเพียงพอ แต่เมื่อใดที่เริ่มมีความหนาแน่นมากขึ้นระบบเฉพาะทางอย่างระบบปรับอากาศในห้องไอทีในแบบพรีซิชั่นแอร์ อาจจะเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมควบคุมอุณหภูมิ รวมถึงความชื้นสัมพัทธ์สำหรับอุปกรณ์ไอทีได้อย่างแม่นยำ

สภาพแวดล้อมในสำนักงานและในการพาณิชย์

บางครั้งอุปกรณ์ไอที แบบเอดจ์คอมพิวติ้งตามพื้นที่ต่างๆจะถูกวางไว้ในพื้นที่ซึ่งตอบโจทย์วัตถุประสงค์บางอย่าง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีพนักงานหรือลูกค้าอยู่เช่นสำนักงานแพทย์หรือหน้าร้าน ซึ่งพื้นที่ประเภทดังกล่าวก็จะมีข้อจำกัดหลักๆ กันอยู่ห้าประการได้แก่

  1. ความสวยงามกลมกลืนกับพื้นที่อุปกรณ์ต้องไม่ดูเป็นส่วนเกินของพื้นที่ ไม่ขัดตาทั้งพื้นที่ที่เป็นสาธารณะหรือพื้นที่ส่วนกลาง อุปกรณ์ควรจัดวางได้อย่างเหมาะสมลงตัว
  2. ข้อกำจัดเรื่องเสียงรบกวนเสียงพัดลมระบายอากาศอาจรบกวนสร้างความรำคาญ และรบกวนสมาธิแก่ผู้คนที่อยู่บริเวณนั้นจึงควรเลือกใช้ตู้แร็ค หรือตู้ไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ที่สามารถลดเสียงหรือมีเทคโนโลยีเก็บเสียงรบกวนได้
  3. การระบายความร้อนเอาต์พุตความร้อนของไอทีสามารถส่งผลกระทบต่อความสะดวกสบายของมนุษย์ จึงควรทำความเข้าใจถึงข้อจำกัดของระบบระบายความร้อนเพราะอาจจำเป็นต้องใช้การระบายความร้อนแบบ Active Cooling
  4. ข้อจำกัดด้านพื้นที่พื้นที่ในอาคารมีต้นทุนการใช้ตู้ไอทีแบบติดผนังสามารถช่วยให้ใช้พื้นที่ได้อย่างเหมาะสมเต็มประสิทธิภาพ
  5. การรักษาความปลอดภัยทางกายภาพหากผู้ที่อยู่ในอาคารสามารถเดินไปถึงและเข้าถึงได้แสดงว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดดาวน์ไทม์จากการประสงค์ร้ายหรือไม่ได้เจตนาก็เป็นได้ตู้ไอทีที่ใส่อุปกรณ์ควรมีการล็อคและจำกัดการเข้าถึงอาจตั้งอยู่ในโซนที่ไม่เตะตา และมีกล้องที่ช่วยดูแลความปลอดภัยได้อย่างทั่วถึง

สภาพแวดล้อมที่ ควบคุมยากอย่างในอุตสาหกรรม

สภาพแวดล้อมนี้ อาจจะอยู่ทั้งในที่ร่มและกลางแจ้ง และมีการควบคุมน้อยกว่าสภาพแวดล้อมสองประเภทที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจจะมีความแปรปรวณทั้งเรื่องของอุณหภูมิและความชื้น อาจมีฝุ่นละอองและสารปนเปื้อนอื่นๆ หรือกระทั่งเรื่องของน้ำ สภาพแวดล้อมสมบุกสมบั่นในอุตสาหกรรมนี้จะมาในรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งค่อนข้างยากที่จะควบคุมได้อย่างทั่วถึงเช่นคลังสินค้าชิปปิ้งโรงงานผลิตโรงงานเคมี เสาสัญญาณโทรคมนาคม และอื่น ๆ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไอทีในพื้นที่เหล่านี้ ได้แก่

  1. การแปรปรวนของอุณหภูมิ และความชื้นการใช้ตู้แร็คที่มาพร้อมเครื่องปรับอากาศซึ่งมีทั้งแบบอยู่ในตัวหรือจากระบบ HVAC ของอาคารสามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นสำหรับอุปกรณ์ไอทีได้อย่างแม่นยำ
  2. การรั่วไหลของน้ำให้มองหาตู้แร็คที่ให้การปกป้องความเสี่ยงเรื่องของน้ำได้ในระดับที่เหมาะสม โดยอิงตามมาตรฐานสากล IEC และ NEMA
  3. อนุภาคขนาดเล็กและฝุ่น สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือและอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไอที จึงต้องมีระดับการป้องกันที่สอดคล้องกับระดับความเสี่ยง ซึ่งมาตรฐานการป้องกันของ IEC จะตรวจสอบระดับการป้องกันฝุ่นของตู้แร็ค
  4. การสั่นสะเทือนเครื่องจักรสามารถก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ไอที ฉะนั้นควรใช้เทคนิคช่วยลดแรงสั่นสะเทือน อย่างการใช้ตัวยึดสปริงแบบแยกหรือแผ่นยางลดการสั่นสะเทือน
  5. การชน รถโฟล์กลิฟท์สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงได้เช่นกัน จึงควรวางตำแหน่งตู้ไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ ให้อยู่ห่างจากพื้นที่หลักที่เป็นเส้นทางจราจรให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และให้ใช้แท่งเสาคอนกรีดมากั้นไว้อีกทีเพื่อป้องกันความเสี่ยง
  6. เหตุการณ์รบกวนเมื่ออุปกรณ์อยู่กลางแจ้ง อาจเกิดปัญหาใหญ่ขึ้นได้ จึงควรอยู่ในที่ลับตาและทำให้สามารถเข้าถึงได้น้อยที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกทำลาย หรือการประทุษร้าย หรือสัตว์ที่เข้าไปรบกวนระบบ รวมถึงสายไฟ ฯลฯ
  7. การกัดกร่อน ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์เซิร์ฟเวอร์และแผงวงจรพิมพ์ (printed circuit boards)มีความอ่อนไหวต่อการกัดกร่อนซึ่งอาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของตัวอุปกรณ์ จำเป็นต้องใช้ตู้ที่ทำจากวัสดุที่เหมาะสมหรือมีการเคลือบเพื่อป้องกันการกัดกร่อน

ทั้งหมดเป็นเคล็ดลับการสร้างเอดจ์คอมพิวติ้งที่มีประสิทธิภาพตามสภาพแวดล้อมของแต่ละสถานที่และการใช้งานซึ่งจะช่วยให้การดูแลรักษาในอนาคตทำได้ง่าย สามารถศึกษาเคล็ดลับเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3tXuRAF

 

 เกี่ยวกับชไนเดอร์ อิเล็คทริค

เป้าหมายของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค คือการช่วยให้ทุกคนใช้พลังงานและทรัพยากรได้เกิดประโยชน์สูงสุด เชื่อมโยงความก้าวหน้าและความยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของทุกคน เราเรียกสิ่งนี้ว่า Life Is On

ภารกิจของเราคือการเป็นพันธมิตรด้านดิจิทัลกับคุณ เพื่อสร้างประสิทธิภาพและความยั่งยืน

เราขับเคลื่อนการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ด้วยการผสานรวมเทคโนโลยีชั้นนำของโลกด้านพลังงานและกระบวนการจัดการ เข้ากับผลิตภัณฑ์ตั้งแต่จุดเชื่อมต่อปลายทางไปยังคลาวด์ ระบบควบคุม รวมถึงซอฟต์แวร์และการบริการครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตการทำงานทั้งหมด เพื่อสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการองค์กรแบบบูรณาการ ทั้งสำหรับบ้าน อาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรม

เราคือบริษัทระดับโลกที่มีการดำเนินงานในระดับท้องถิ่นมากที่สุด เราสนับสนุนมาตรฐานระบบเปิดและระบบนิเวศของคู่ค้าที่มีความมุ่งมั่นแรงกล้าในการทำตามวัตถุประสงค์อย่างมีเป้าหมายร่วมกัน และคุณค่าในการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวพร้อมขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยกัน



รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
เพิ่มเพื่อน

 

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Monday, 15 March 2021 05:46
พลวัตน์ พัฒนชัยเดชา

Author : เกาะติดข่าวการเงิน การธนาคาร หุ้นและการลงทุน ตลาดทองคำ พันธบัตร ตราสารหนี้ การเกร็งกำไร กองทุน การออม ประกันชีวิต ภาษี การวางแผนการเงิน ดอกเบี้ย รวมไปถึงสินทรัพย์ต่างๆ ในทุกมิติ

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion ประเทศไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์งานเหมืองครบวงจร ชูการบริการหลังการขายที่เข้าใจลูกค้ายิ่งกว่าเดิม

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM