Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

ความสำคัญของการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า

โดย : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศุภณัฐ เทคนิคอล (SUPANUT TECHNICAL PARTNERSHIP LIMITED)

ปัญหาของระบบไฟฟ้าขัดข้อง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานขององค์กร หน่วยงาน และยังทำให้สูญเสียโอกาสในการแข่งขันเชิงธุรกิจ หยุดไลน์ผลิต หรือเกิดความสูญเสีย ซึ่งมักมีสาเหตุมาจากการขาดการวางแผนในการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าที่เหมาะสม ดังนั้นการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ( Electrical System Preventive Maintenance ) จึงเป็นแนวทางที่จะช่วยรักษาความเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า เพื่อลดผลกระทบและความสูญเสียดังกล่าว

การบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าและการตรวจระบบไฟฟ้า เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานประกอบการ ซึ่งการตรวจระบบไฟฟ้านั้นเป็นหน้าที่ของวิศวกรไฟฟ้า ช่างเทคนิคไฟฟ้า หรือ เจ้าหน้าที่ของฝ่ายวิศวกรรม โดยต้องเป็นไปตามกฎหมายของกระทรวงอุตสาหกรรมตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ. 2550 และตามกฎหมายของกระทรวงแรงงานตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558

โดยทั่วไปแล้วงานตรวจสอบและซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าเป็นหัวใจสำคัญของระบบการผลิต เพื่อให้ระบบไฟฟ้าสามารถใช้งานได้ยาวนานและมีความเชื่อถือได้ งานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าที่ดีคือการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน( Preventive Maintenance : PM) สิ่งสำคัญของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันคือการตรวจสอบสภาพเพื่อให้ทราบว่าระบบหรืออุปกรณ์มีร่องรอยการเสื่อมสภาพหรือไม่ มีสภาพที่ต้องการการบำรุงรักษาหรือไม่ ในการตรวจสอบสามารถทำได้ 2 แบบ คือการตรวจสอบด้วยสายตา (Visual Inspection) และการตรวจสอบด้วยเครื่องมือวัด ซึ่งต้องการความรู้ในการใช้เครื่องมือวัดและการวิเคราะห์ด้วย

ในการตรวจสอบทั้งด้วยสายตาและด้วยการใช้เครื่องมือวัด สามารถแบ่งการตรวจสอบออกเป็น 2 ส่วนคือ การตรวจสอบทั่วไป และการตรวจสอบตัวอุปกรณ์แต่ละรายการ

1. การตรวจสอบทั่วไป
การตรวจสอบในขั้นตอนนี้ เป็นการตรวจสภาพทั่วไปของระบบไฟฟ้าทั่วไป เป็นการตรวจอย่างง่าย อย่างไรก็ตาม ผู้ตรวจสอบต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากไฟฟ้าและการป้องกัน เป็นอย่างดี การสัมผัสส่วนใด ๆ ต้องมั่นใจว่าไม่มีไฟฟ้า หรือมีการป้องกันอย่างเหมาะสมแล้ว การตรวจทั่วไปมีดังนี้

  • สายไฟฟ้า
  • เซอร์กิตเบรกเกอร์
  • ขั้วต่อหรือจุดต่อสาย
  • การระบายอากาศในห้องไฟฟ้า
  • การระบายอากาศและท่อไอเสียสำหรับห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
  • แบตเตอรี่

2. การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า
เป็นการตรวจสอบที่ตัวอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อหาจุดบกพร่อง การเสื่อมสภาพ ความผิดปกติ และอื่น ๆ การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ทำการบันทึกค่า ผลการตรวจ และทำการวิเคราะห์ผลที่ได้เพื่อหาทางแก้ไข ข้อสำคัญคือ บางรายการต้องตรวจขณะที่จ่ายไฟฟ้า บางรายการต้องดับไฟก่อนจึงจะตรวจได้เนื่องจากมีอันตราย ผู้ที่จะทำการตรวจสอบต้องมีความรู้ในเรื่องนี้ด้วย โดยอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ควรได้รับการตรวจสอบมีหลายรายการดังนี้
2.1 หม้อแปลงไฟฟ้า : การตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประกอบด้วยการตรวจสอบรายการดังต่อไปนี้

  • ตัวถังหม้อแปลง
  • การต่อลงดินของส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่ง
  • สารดูดความชื้น
  • ป้ายเตือนอันตราย
  • พื้นลานหม้อแปลง
  • เสาหม้อแปลง
  • การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง
  • ตรวจสภาพหม้อแปลงและการติดตั้งอื่น

2.2 ตู้เมนสวิตช์ : การตรวจสอบตู้เมนสวิตช์หรือตู้สวิตช์ประธาน ประกอบด้วยการตรวจสอบรายการดังต่อไปนี้

  • สภาพของระบบสายดินและการต่อหลักดิน
  • บริเวณโดยรอบตู้และตัวตู้ ตู้เมนสวิตช์ต้องมีพื้นที่ว่างให้สามารถปฏิบัติงานได้สะดวก การตรวจพื้นที่โดยรอบและสภาพทั่วไป ควรตรวจสิ่งต่อไปนี้
    • พื้นที่ว่าง
    • เส้นทางที่จะเข้าไปยังพื้นที่ว่างเพื่อปฏิบัติงาน
    • ตรวจจสอบว่ามีการวางวัสดุที่ติดไฟได้ติดกับตู้เมนสวิตช์
    • ฝุ่น หยากไย่ โดยรอบตู้และภายในตู้
  • ความผิดปกติทางกายภาพ
  • การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง
  • การตรวจอื่นๆ อาจมีการตรวจสอบอย่างอื่นเพิ่มเติมอีก เช่น ตรวจสอบการทำงานของเครื่องวัดที่หน้าแผง หลอดไฟต่าง ๆ เป็นต้น

2.3 แผงย่อย : การตรวจสภาพแผงย่อยเป็นการตรวจสอบทั้งบริเวณการติดตั้งในพื้นที่ทั่วไป และพื้นที่ที่มีสารไวไฟ สำหรับพื้นที่ที่มีสารไวไฟให้ระบุประเภทและแบบของบริเวณนั้นด้วย

  • ระบบต่อลงดิน
  • บริเวณโดยรอบ
  • การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง
  • การตรวจอื่นๆ ตรวจสอบเช่นเดียวกับตู้เมนสวิตช์

2.4 โคมไฟ หลอดไฟ และระบบไฟฟ้าแสงสว่าง : การตรวจสอบโคมไฟ หลอดไฟ และระบบไฟฟ้าแสงสว่าง เป็นการตรวจสอบรายการต่อไปนี้

  • การติดตั้งและโครงสร้างของโคมไฟ
  • หลอดไฟและขั้วหลอด
  • สายป้อน สายวงจรย่อย และสวิตช์ตัดตอนของระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
  • การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อม
  • การตรวจอื่นๆ

2.5 สภาพอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ : การตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ อาจตรวจสอบเฉพาะในพื้นที่อันตราย หรือพื้นที่จัดเก็บวัสดุที่ติดไฟได้ง่ายเท่านั้น ในการตรวจสอบให้ระบุชนิดของอุปกรณ์ด้วยว่า เป็นอุปกรณ์ชนิดใด เหมาะสมกับที่ใช้ในบริเวณ (พื้นที่) อันตรายหรือไม่

  • พื้นที่ติดตั้ง
  • สภาพของอุปกรณ์และการต่อสายไฟฟ้า
  • บริเวณโดยรอบอุปกรณ์
  • การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง
  • การตรวจอื่นๆ เป็นการตรวจสอบสภาพทั่วไปอื่นๆ ที่สามารถพบได้จากการตรวจสอบด้วยสายตา เช่น การป้องกันการสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้า และการต่อลงดิน เป็นต้น

3. ความถี่ในการตรวจสอบและบำรุงรักษา
ความถี่ในการตรวจสอบ ขึ้นกับสภาพแวดล้อมและการใช้งาน โดยปกติจะดำเนินการปีละ 1 ครั้ง การที่จะทำการตรวจสอบถี่ขึ้นหรือไม่นั้น ให้พิจารณาปัจจัยต่อไปนี้ประกอบด้วย

  • การกัดกร่อนของบรรยากาศ
  • สิ่งสกปรกและฝุ่นละออง
  • อุณหภูมิโดยรอบและความชื้น
  • ความถี่ในการทำงาน
  • ความถี่ในการตัดกระแสลัดวงจร (กรณีเซอร์กิตเบรกเกอร์)

ทั้งนี้ การตรวจสอบบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า นอกจากการตรวจสอบเรื่องการบกพล่อง สึกหรอ หรือเสื่อมสภาพของอุปกรณ์แล้ว ยังรวมไปถึงการดูแลเรื่องความสะอาด ถ้าไม่มีการบำรุงรักษาจะเกิดความสกปรก ซึ่งส่งผลต่ออุปกรณ์ต่างๆ เนื่องจากฝุ่นละอองสะสมเมื่อรวมตัวกับความชื้น จะมีคุณสมบัติเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ และกลายเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้า หากไม่ร้ายแรงมากก็อาจส่งผลแค่ระบบไฟฟ้าไม่เสถียร อุปกรณ์ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ แต่หากถึงขั้นร้ายแรงก็อาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจร และเกิดเหตุการณ์หายนะได้

การตรวจสอบความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า เพื่อให้สถานประกอบการสามารถใช้งานระบบไฟฟ้าในโรงงานได้อย่างมั่นใจและมีความปลอดภัยสูง การตรวจวัดค่าต่างๆทางไฟฟ้าต้องใช้เครื่องมือวัดเฉพาะด้านที่มีความเชื่อถือในทางอุตสาหกรรม เช่น เครื่องมือวัดความต้านทานดิน เครื่องมือวัดความเป็นฉนวน อุปกรณ์ตรวจวัดหาค่าความร้อน และนำผลของการตรวจวัดมาวิเคาะห์เป็นรายงาน โดยมีข้อปรับปรุงเสนอแนะรายงาน ตามกรณีต่างๆ โดยวิศวกรที่มีประสบการณ์

การบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอดูเหมือนเป็นค่าใช้จ่ายสิ้นเปลือง แต่เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุด เพราะจะทำให้ระบบต่างๆ ได้รับการตรวจสอบและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอก่อนที่จะชำรุดหรือเสื่อมสภาพ การรู้ก่อนและแก้ไขก่อน โดยการบำรุงรักษาก่อนที่จะสึกหรอ นอกจากจะยืดอายุการใช้งานได้อย่างมหาศาลแล้ว ยังทำให้ลดความเสี่ยงจากเหตุการณ์อัคคีภัย และจากการหยุดสายการผลิตได้

"หจก.ศุภณัฐ เทคนิคอล" ให้บริการงานทดสอบและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ให้บริการทดสอบอุปกรณ์ และระบบไฟฟ้า ด้วยทีมงานที่ชำนาญการและมีประสบการณ์การทำงานสูง และบริการตรวจสอบ บำรุงรักษา อุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าและระบบควบคุม ทั้งในระบบสถานีไฟฟ้าแรงสูงและแรงต่ำ 

  • บำรุงรักษา อุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าและระบบควบคุม ทั้งในระบบสถานีไฟฟ้าแรงสูงและแรงต่ำ 
  • หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง (Power Transformer)
  • อุปกรณ์ตัดตอนอัตโนมัติ (Circuit Breaker)
  • สวิทช์ตัดตอน (Disconnection Switch)
  • หม้อแปลงกระแสและแรงดัน (Current and voltage transformer)
  • คาซิเตอร์ (Capacitor Bank)
  • ตู้สวิทช์เกียร์ (MV Switchgear)
  • อุปกรณ์ป้องกัน (Protectiove Relay)
  • เครื่องมือวัด (Mtering and Trasducer)
  • อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ

เราเชี่ยวชาญงานระบบไฟฟ้า จำหน่าย-ติดตั้ง ระบบไฟฟ้าอาคารพาณิชย์และโรงงาน ให้บริการ รับปรึกษา-ออกแบบ ระบบไฟฟ้าโรงงาน จำหน่าย และติดตั้ง หม้อแปลงระบบไฟฟ้าแรงสูง ซ่อมและปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในโรงงาน สนใจสอบถามโปรดติดต่อ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศุภณัฐ เทคนิคอล
SUPANUT TECHNICAL PARTNERSHIP LIMITED
Call : 089-6527559
Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Facebook : หจก.ศุภณัฐเทคนิคอล

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Monday, 13 July 2020 11:12
ไตรทศ เดชภูวดล

Author : ปวส. ช่างก่อสร้าง มีความสนใจในงานก่อสร้างและงานโยธา ติดตามงานข่าวก่อสร้างถนน สะพาน อุโมงค์ อาคาร สะพาน เขื่อน และข่าวก่อสร้างอื่นๆ ให้กับ IM

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion ประเทศไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์งานเหมืองครบวงจร ชูการบริการหลังการขายที่เข้าใจลูกค้ายิ่งกว่าเดิม

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM